สายชาร์ตขโมยข้อมูลหรือเกิดจากการลงแอปมั่วๆ


25/Jan/2023
Fat Finger


สายชาร์ตขโมยข้อมูลหรือเกิดจากการลงแอปมั่วๆ

ตามหน้าข่าวหรือตามสื่อออนไลน์ แม้กระทั่งข้อความทาง Line ที่ส่งต่อๆกันเราจะพบว่ามีการพูดถึงเรื่องของการถูกโอนเงินหรือการดูดข้อมูล ดูดเงินเป็นต้น อย่างในช่วงเดือนมกราคมนี้ และพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีการเขียนข่าวกันไปต่าง ๆนานา ให้เข้าใจผิดกันได้

ทีมงาน Avery IT Tech ขอสรุปแบบนี้ครับ

สายชาร์ตขโมยข้อมูลสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบแบบง่ายๆ คือ ถ้าแค่สายทำได้ยากมาก จนถึงทำไม่ได้ครับ อาจจะต้องพูดแบบนี้ว่าการที่ต้องติดตั้งโปรแกรมหรือการขโมยข้อมูลบางอย่างอาจจะต้องมีพื้นที่รองรับไม่มากก็น้อย ดังนั้นถ้าแค่สายชาร์ตนั้นยากเกินไปที่จะดัดแปลงเพื่อขโมยข้อมูล แต่ อุปกรณ์ IOT เดี๋ยวนี้เล็กลง ทีมงานใช้คำว่าอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงซิปเซ็ตให้เล็กเพียงพอที่จะยัดเข้าไปในหัวสายชาร์ตได้ และกระจายสัญญาณผ่าน wifi อีกทาง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยซึ่งถามว่าเป็นไปได้ไหม ลองอ่านบทวิเคราะห์กันต่อครับ

แต่ถ้าสายชาร์ตนั้นยื่นมาให้เห็นแค่สาย อาจจะถูกครอบด้วยเสาหรือตู้ที่ตกแต่งสวยงาม หรือ มีเต้าเสียบคาไว้กับปลั๊กไฟเพื่อให้ชาร์ตฟรีตามสถานที่สาธารณะนั้นอันนี้เป็นไปได้ครับ กับการลงโปรแกรมหรือแม้กระทั้งการฝังซิปเซ็ตบางอย่างเข้าไปเพื่อที่จะดึงข้อมูลได้อย่างง่าย และ ส่งต่อข้อมูลไปเก็บต่อทาง Wifi หรือแม้กระทั่งเก็บไว้บนซิปเซ็ตที่ติดตั้งไว้

แต่...การที่จะดึงข้อมูลได้นั้น สายชาร์ตหรืออุปกรณ์ต่างๆ หรือ โทรศัพท์ในปัจจุบันนั้น ต้องมีการร้องขอสิทธิในการถ่ายโอนข้อมูลก่อนถึงจะทำได้ ถ้าเราไม่ไปกดเอง หรือ ไม่อ่านแล้วอนุญาตไปเองก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นที่หรือการจัดเก็บบนเครื่องได้แล้ว

เช่นกันครับ สำหรับใครที่ติดตั้งแอพพลิเคชันแปลกๆ มั่วๆ ไม่ทราบแหล่งที่มานั้น หากไม่จำกัดสิทธิในการเข้าถึงที่ดีก็จะมีความไม่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


ดังนั้น ถ้าเราไม่เปิดให้เข้าถึงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ติดต่อ หรือแม้กระทั้งเข้าถึงการบริหารจัดการของระบบมือถือนั้นเอง จำกัดสิทธิเท่าที่จำเป็นเท่านั้นพอ เราก็จะปลอดภัยมากขึ้นทั้งแอพแปลกๆ หรือ แม้กระทั่งสายชาร์ตที่มาขอเข้าถึงข้อมูลหรือแชร์ข้อมูลก็เช่นเดียวกันครับ

ด้วยความปรารถนาดีจาก Avery IT Tech