แก็งค์คอลเซ็นเตอร์รู้ข้อมูลเราได้ยังไง? และเราควรป้องกันอย่างไร?


10/Apr/2023

ทุกคนเคยสงสัยไหมคะ? ว่า มิจฉาชีพที่รู้ข้อมูลเราเยอะๆเนี่ยมาจากแหล่งไหน วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ

1.มิจฉาชีพที่รู้ชื่อนามสกุลอาจจะเอามาจากเว็บไซต์ที่เราเคยกรอกสมัครงานตามเว็บต่าง ๆ มิจฉาชีพสามารถสมัครและไปซื้อข้อมูล หรือดูดข้อมูลของเรามาจากเว็บนั้น ได้อย่างง่ายดายเลย

2.สามารถเอาเลขบัตรประชาชนของเรามาจากการลงทะเบียน หรือการสมัครสมาชิกจากแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมถึงบัตรเครดิตด้วย บอกเลยว่าเพียงแค่จะเอาข้อมูลที่เป็นชื่อ เบอร์โทร ก็ทำได้ไม่ยาก

3. เอามาจากลิงค์ที่เราเคยกดเข้าไป อาจจะเป็นลิงค์สมัครเกมส์ หรือรหัสที่เราผูกเอาไว้ตามเว็บไซค์เกมต่าง ๆ

4. เอามาจากหน่วยงานที่เราทำงานอยู่ หรือ หน่วยงานที่เราไปติดต่อรับบริการ เช่น การสมัครรับอินเตอร์เน็ต การสมัครรับสิทธิพิเศษ หรือแม้กระทั่งการจองบริการของสายการบิน เป็นต้น

5. การแฮกอีเมล อันนี้ก็ทำได้เช่นกัน บอกเลยว่าวิธีนี้ถือว่ายอดฮิตติดอันดับเลยทีเดียว

วันนี้ทาง Avery IT Tech ก็มีวิธีป้องกันที่ง่ายๆมาแนะนำทุกคนเหมือนกันนะคะ เพื่อไม่ให้ทุกคนเนี่ย ไปหลงกลกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ค่ะ มาดูกันนะคะว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง

1. อย่าใส่เบอร์โทร ข้อมูลส่วนตัวของเราลงไปในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook Instagram หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ที่เราเคยไปสมัครใช้บริการอย่างน้อย ถ้าจะใส่จริงๆหรือจำเป็น ก็ควรใส่แค่ชื่อและนามสกุล ถ้ามากกว่านี้ ก็แปลกๆแล้วละค่ะ

2. ก่อนจะคลิกลิ้งก์หรือกรอกแบบสอบถาม หรือดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ ให้ตรวจที่มาอย่างดีก่อนเลย เพราะช่องทางนี้ ถ้ามิจฉาชีพรู้ชื่อนามสกุลเรา หรือข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจจะเกิดจากการที่มิจฉาชีพสร้างลิงก์ขึ้นมาก็ได้ค่ะ

3. ถ้ามีสายโทรมาถามชื่อ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัวของเราเด็ดขาด ให้เรารีบถามกลับก่อนว่าปลายสายเป็นใคร และยืนยันตัวตนจากคนที่โทรมาก่อนให้ดี เช่น บอกได้ไหมว่าทำงานที่ไหน แล้วอยากได้ข้อมูลเราไปทำอะไร หรือข้อมูลล่าสุดติดต่อของเราคือเมื่อไหร่ เป็นต้น

4. ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราแบบ 2 ชั้น ทั้งการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า และการเข้าถึงรหัสผ่าน เพราะอย่างน้อย ก็ต้องเชื่อม OTP นะคะ

5. อย่าเผลอทำตามกรณีที่ให้ติดตั้งอะไรก็ตามบนโทรศัพท์หรือบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเด็ดขาด

6. ถ้าสมมติมิจฉาชีพรู้ชื่อนามสกุลหรือรู้จักบัตรประชาชนเรา ให้เราทำการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่ทันที เพราะอย่างน้อยรหัสข้างหลังบัตรประชาชนก็จะเปลี่ยน

หรือถ้าเกิดว่าทุกท่านเจอกรณีนี้แล้ว ไม่รู้จะทำอย่างไร

สามารถแจ้งไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

            120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

            โทร. 02 142 1033, 02 141 6993

            e-mail : saraban@pdpc.or.th

ติดตามข่าวสารหรือสาระความรู้แวดวงIT ได้ที่ Avery it tech “เพราะ เรื่องIT อยู่รอบๆตัวคุณ”