Private vs. Public vs. Hybrid


3/Jun/2021
Cloud Security

Private vs. Public vs. Hybrid ควรเลือกใช้ Cloud รูปแบบไหนดีถึงจะเหมาะสม?

    ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Cloud แต่ละประเภทกันก่อน

    Private Cloud เป็นระบบที่ออกแบบมาเหมือนการตั้งระบบโครงข่ายภายในองค์กร รวมทั้งระบบความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลไว้บนระบบขององค์กร และบริหารจัดการแบบไม่เปิดให้คนนอกเข้าถึงจากภายนอกมากนัก เป็นการเข้าถึงที่ยังยากแก่การบริหารจัดการแล้วเข้าถึงยาก แต่จะมีความปลอดภัยในข้อมูลที่สูง

    ข้อดีสำหรับการใช้งาน

  • ได้ด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมาย/ความปลอดภัยการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวดได้ โดยจัดการด้วยผู้ดูแลระบบได้ทันที

    ข้อเสียสำหรับการใช้งาน

  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนตั้งต้นของระบบในการจัดหาและดูและฮาร์ดแวร์ต้องใช้งบประมาณที่สูง
  • ต้องมีบุคคลากรที่มีทักษะที่สูงขึ้นในการใช้และใช้ประโยชน์จากกำหนดนโยบายและเฝ้าระวัง

    ดังนั้นหากดูความเป็นไปได้และเหมาะสมนั้น

    แน่นอนต้องมีบุคลากรที่พร้อมดูแลทั้งโครงข่ายเน็ตเวิกที่เชี่ยวชาญพร้อมแก้ปัญหาการเชื่อมต่อ และผู้ดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่สามารถปรับปรุงนโยบายละกำหนดการใช้งานที่เหมาะสมให้กับธุรกิจหรือหน่วยงานที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมดังนั้นด้วยความเหมาะสมเหล่านั้น ธุรกิจที่เหมาะสมต้องมีการให้ความสำคัญกับข้อมูลและดูแลผู้ใช้งานจำนวนมากด้วย เช่นระบบของภาครัฐ หรือ ระบบธนาคาร ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวที่สูง และ ความปลอดภัยของข้อมูลที่ต้องคำนึงถึงหากใช้บริการระบบคลาวด์ประเภทอื่นๆ

    ระบบต่อไปคือ Public Cloud เป็นรูปแบบการให้บริการคลาวด์ ที่สะดวกกับผู้ใช้งานโดยที่คนออกแบบตั้งใจจะเป็นคนวางโครงสร้างโครงข่ายและมีการดูแลความปลอดภัยไปจนถึงคนเฝ้าระวังให้เรียบร้อยทั้งหมด ให้ผู้ใช้บริการสามารถขอแบ่งเช่าทรัพยากรไปใช้ได้ เช่น Microsoft Azure, Amazon , Google Cloud Platform เป็นต้น

    ข้อดีสำหรับการใช้งาน

  • ไม่ต้องลงทุนเองในเชิงของระบบโครงข่ายและระบบความปลอดภัย
  • สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที เพราะระบบพร้อมรองรับอยู่แล้ว
  • การคิดค่าใช้จ่ายอ้างอิงการคิดราคาแบบจ่ายตามการใช้งาน ปรับขนาดได้ตามต้องการ -
  • เวลาทำงานต่อเนื่อง ลดระยะเวลา Downtime หรือ ปัญหาระบบล่ม
  • ค่าการบำรุงรักษาระบบเป็นศูนย์

    ข้อเสียสำหรับการใช้งาน

  • อาจมีนโยบายหรือข้อกำหนดทางกฎหมายที่แพลตฟอร์มคลาวด์สาธารณะไม่สามารถปฏิบัติตามได้
  • ค่าใช้จ่ายในระยะยาวหากเป็นระบบที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เยอะตลอดเวลาต้องเสียค่าข้อมูลที่วิ่งเข้าออกค่อนข้างสูงดังนั้นต้องกำหนดให้เหมาะสมว่าแอพพลิเคชันไหนเหมาะสมกับการใช้งานระบบนี้

    ดังนั้นหากดูความเป็นไปได้และความเหมาะสมนั้น

    ระบบองค์กรธุรกิจที่ไม่ต้องการลงทุนสูงในช่วงเริ่มต้นอย่าง Start-Up หรือ SME ที่สามารถเริ่มธุรกิจได้เลยโดยไม่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ระบบของตัวเอง หรือธุรกิจหน่วยงานที่ไม่ได้เก็บข้อมูลสำคัญไว้มากนักเพราะปัจจัยด้านความปลอดภัยของการใช้งาน Public Cloud นั้นยังเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงทั้งการเป็นเป้าโจมตีได้ง่ายจากอาชญากรทางไซเบอร์และการมีความรู้ในการบริหารจัดการระบบที่ยังไม่มาก อีกข้อหนึ่งคงหนีไม่พ้นการใช้งานที่รองรับระบบการเชื่อมต่อได้จากทุกที่ เพราะถ้าใช้ระบบ Private Cloud นั้นบางระบบอาจจะไม่สามารถให้เข้าถึงได้จากภายนอก แต่ถ้าเป็นระบบ Public Cloud นั้นก็ยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น

    ปัจจุบันสำหรับ Public Cloud มีอีกไอเดียการใช้งานคือ Multi-Cloud-Usage เพื่อลดปัญหากรณีเกิดปัญหาขึ้นกับ Public Cloud เจ้าใดเจ้าหนึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลหรือระบบไม่ได้จึงมีการเลือกใช้สองระบบ Public Cloud เพื่อรองรับ แต่ก็ต้องคำนวณเรื่องงบประมาณ และ การส่งข้อมูลกันระหว่างสองระบบที่ต่างกันด้วย ด้านความปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่ต้องกังวลไม่น้อย

    ระบบผสมผสานของสองระบบก่อนหน้า คือ Hybrid Cloud เป็นระบบที่มีองค์ประกอบของสองระบบเข้ามารวมกันคือมีทั้ง Private Cloud กับ Public Cloud ผสมกัน เป็นการเอาข้อดีระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud มาใช้ร่วมกัน เช่น การนำ Private Cloud มาใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่สำคัญของระบบไว้ใช้ภายในเท่านั้น และใช้ Public Cloud มาใช้เพื่อการ จัดการ การเพิ่มของผู้ใช้งานหรือแอพพลิคเคชันใหม่ๆของธุรกิจและหน่วยงานเพื่อรองรับการขยายตัวที่ Private Cloud ไม่สามารถทำได้ทันที ที่แตกต่างจาก Public Cloud ที่เพิ่มประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา เพราะธุรกิจบางประเภทเราไม่สามารถทราบการเข้าใช้งานได้อย่างทันที หากมีกรณีไหนมีคนใช้งานที่เยอะขึ้นอย่างคาดการณ์ไม่ได้

    ข้อดีสำหรับการใช้งาน

  • มีความยืดหยุ่นสูง มีการออกแบบที่สูงกว่า สามารถเลือกประเภทของการเก็บข้อมูลได้ เช่นเลือกเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ข้อมูลความลับไว้ที่ Private Cloud ของตัวเอง และเลือกเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ข้อมูลที่ต้องมีการยืดขยายสูง ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือข้อมูลที่มีความเสี่ยงน้อยไว้บน Public Cloud เป็นต้น
  • ปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างรวดเร็ว ทดแทนข้อดีข้อเสียของ Private Cloud และ Public Cloud

    ข้อเสีย

  • มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการมากขึ้น และความยุ่งยากในการกำหนดสิทธิการเข้าถึง
  • มีราคาแพงกว่าทั้งสองระบบก่อนหน้า
  • การกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของการเชื่อมกันทั้งสองระบบต้องกำหนดให้ดี

    ดังนั้นหากดูความเป็นไปได้และความเหมาะสมนั้น

    ความเหมาะสมนั้นต้องเข้ากับธุรกิจและหน่วยงาน ที่ไม่สามารถนำเข้าข้อมูลที่สำคัญหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนบางส่วนในระบบคลาวด์ได้เนื่องจากเหตุผลทางกฎหมายของบางพื้นที่ หรือ การนำเข้าข้อมูลที่สำคัญมากเกินไปไว้บนระบบก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องระวังดังนั้นการออบแบบระบบให้รองรับหรือใช้งานรูปแบบ Hybrid จึงยึดหยุ่นกว่าต่อให้ต้องลงทุนมากกว่าแต่ก็ได้ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย