CAT รวมกับ TOT ดีอย่างไร?


28/Apr/2021
Wireless Network

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 เราทราบข่าวกันแล้วว่าได้มีการประกาศจดทะเบียนควบรวมกันระหว่าง CAT และ TOT กลายเป็น บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า NT (National Telecom) ถึงแม้กว่าการรวมกันของ 2 องค์กรนี้ยังไม่เสร็จสิ้นเรียบร้อยในเร็ววัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลากันสักหน่อย เพราะเป็นองค์การใหญ่ทั้งคู่ มีองค์ประกอบหลายส่วนที่ต้องจัดการ ทั้งในเรื่องขององค์กร พนักงาน การบริการ สวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น

ทีนี้เรามาดูกันว่าการควบรวมกันของ 2 องค์กรยักษ์ใหญ่ระดับประเทศของเรา ส่งผลดีต่อสังคม หรือประชาชนอย่างไรบ้าง

CAT เดิมแปลงสภาพมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ให้บริการทั้งระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง (หรือที่เราเรียกกันว่า Fiber) ที่เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศ และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ระบบสื่อสารผ่านเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว ที่เชื่อมโครงข่ายหลาย ๆ ทวีปไว้ เรียกได้ว่า CAT เปรียบเสมือน International Gateway ของไทยนั่นเอง ถ้าใครจะสื่อสารเข้าออกประเทศไทย ก็ต้องทำผ่าน CAT อย่างเช่น ถ้าหากมีบริษัทใน Singapore ต้องการซื้อ content ในประเทศไทย ทางบริษัทจาก Singapore ต้องทำการซื้อขายผ่านบริษัทในไทย โดยที่บริษัทในไทยจะต้องทำการประสานงานกับ CAT เพื่อเสนอขาย content หรือจัดเตรียม Resource เพื่อเสนอขายบริการนี้ให้แก่บริษัทใน Singapore หรือหากมีบริษัทในมาเลเซียอยากมี content ที่ประเทศจีน โดยที่อยากซื้อ Link ผ่านประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าการให้บริการสำหรับลูกค้ามาเลเซียนั้นจะต้องทำบนโครงข่ายของ CAT เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดจะเป็นผู้เสนอขายบริการนี้ หรือการ configure service ในระดับ Application Layer ถึงแม้ว่าเราไม่ได้เปิดการเช่า Physical Link ใหม่ เป็นการ Configure สร้างเพียงแค่ service เพื่อเสนอขายก็ยังทำบนโครงข่าย Link ของ CAT (ทั้งนี้ขึ้นอยู๋กับ Requirement ของลูกค้าด้วย)

TOT เดิมก็คือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่เรารู้จักกัน โดยบริการของ TOT นั้นจะเน้นไปที่การให้บริการการสื่อสารภายในประเทศ เนื่องจากว่าอาศัยโครงข่ายเดิมที่เป็นเสาสัญญาณโทรศัพท์ และสายโทรศัพ์เดิมในการให้บริการแก่ลูกค้า

(ปัจจุบันได้ขยายโครงข่ายเป็น Fiber optic แล้ว) ส่วนใหญ่ลูกค้าของ TOTจะเป็นองค์กรรายย่อยเสียมากกว่ารายใหญ่ ๆ ที่ซื้อขาย content กันข้ามประเทศ อย่างเช่น โรงงาน องค์กร สำนักงานต่าง ๆ ซึ่งการให้บริการบางจุดนั้น มีเพียง TOT เพียงเจ้าเดียวเท่านั้นที่สามารถทำได้

หากกล่าวกันในวงการ Telecom หรือ Network Transmission นั้น กล่าวได้กว่า CAT คือ Backbone ส่วน TOT นั้นคือ Access link

เมื่อ 2 องค์กรนี้ได้ควบรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อ NT หรือ National Telecom เนื่องจาก Service ที่ให้บริการ จะมีครบเกือบทั้งโครงข่าย อย่างเช่น Backbone, Data Center, Capacity หรือ Traffic content จาก ต่างประเทศ, Node, Border, Access Link, Content Digital , ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการให้บริการในบางส่วน หรือหน่วยงานบางส่วนในองค์กร เป็นต้น

ประโยชน์ต่อคู่ค้าพันธมิตร คือ ลดคู่แข่งในการยื่นประมูลงานต่าง ๆ ไป 1 บริษัท พร้อมทั้งได้คู่ค้าที่มีบริการแข็งแกร่งขึ้น ช่วยเป็นกำลังเสริมกันในการให้บริการลูกค้า (คือประชาชนอย่างเรา ๆ นั่นแหละค่ะ) หรือเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งขึ้นในแง่ของการแข่งกันให้บริการลูกค้า เมื่อเกิดการแข่งขันกันขึ้น ก็จะเกิดการพัฒนา และคนที่ได้รับผลประโยชน์คือประชาชน

ประชาชนอย่างเราล่ะ จะได้ประโยชน์อะไร อย่างแรกเลย เรามี National Telecom ที่เป็นองค์กรใหญ่ขึ้น มีมูลค่าขององค์กรสูงขึ้น อาจจะมีผลดีต่อวงการการศึกษาไทย เช่น ถ้านักศึกษาได้เข้ามาศึกษาดูงาน หรือฝึกงานใน NT เยาวชนเหล่านี้จะได้เรียนรู้ระบบโครงข่ายของประเทศไทยได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว แล้วก็จะจะได้บุคคลากรที่จะเข้ามาพัฒนาระบบนี้เพิ่มขึ้นด้วย ในแง่มุมของการได้รับบริการ ในเมื่อมีคู่แข่งในตลาดโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งขึ้นอีก 1 เจ้า การพัฒนาย่อมเกิดขึ้น ตามที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น บริการต่าง ๆ ที่ประชาชนจะได้รับย่อมมีแนวโน้มพัฒนาขึ้น

สรุปโดยรวมแล้ว ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ทั้ง NT, ด้านการตลาด และประชาชน